มาตรา
๖๘๑ ค้ำประกันนั้นจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อ[1]หนี้อันสมบูรณ์
[2]หนี้ในอนาคตหรือ[3]หนี้มีเงื่อนไข
จะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริง ก็ประกันได้
หนี้อันเกิดแต่สัญญาซึ่งไม่ผูกพันลูกหนี้เพราะทำด้วย[4]ความสำคัญผิดหรือเพราะเป็นผู้ไร้ความสามารถนั้น
ก็อาจจะมีประกันอย่างสมบูรณ์ได้
ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันรู้เหตุสำคัญผิดหรือไร้ความสามารถนั้นในขณะที่เข้าทำสัญญาผูกพันตน
[1]
หนี้อันสมบูรณ์ หมายถึง
หนี้ที่หากเกิดขึ้นแล้วจะมีผลผูกพันกันได้ตามกฎหมาย
ไม่ตกเป็นโมฆะหรือตกเป็นอันเสียเปล่าไปด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติในบรรพ
๑ ว่าด้วยนิติกรรม เช่น
ไม่เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
[2]
หนี้ในอนาคต
หมายถึงหนี้ที่ยังไม่เกิดขึ้นในขณะทำสัญญาค้ำประกัน แต่อาจจะเกิดขึ้นหรือมีผลได้จริงในภายหน้า เช่น สัญญาค้ำประกันสัญญาจ้างแรงงาน,สัญญาค้ำประกันลูกจ้างเข้าทำงาน โดยปกติผู้ค้ำประกันรับผิดชอบเฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งงานที่ลูกหนี้กระทำเท่านั้น,หากมีกาีรเปลี่ยนตำแหน่งให้นอกเหนือสัญญาค้ำประกัน และไปทำความเสียหายในตำแหน่งและหน้าที่ใหม่ ดังนี้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด๑๕๐๑/๔๘ ,แต่การเลื่อนตำแหน่งผู้ค้ำยังต้องรับผิด,การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ หากมีการขอขยายระยะเวลาถือว่าอยู่ในข้อตกลงตามสัญญาค้ำประกันแล้ว
[3]
หนี้มีเงื่อนไข หมายถึง
หนี้ที่ยังไม่เป็นผลหรือสิ้นผลในขณะทำสัญญา
แต่อาจเป็นผลหรือสิ้นผลก็ได้ในภายหน้าขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อันไม่แน่นอนในอนาคต
ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่
[4]
“ความสำคัญผิด” หมายความว่า
เฉพาะความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ซึ่งทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ
ซึ่งจะไม่รวมความสำคัญผิดที่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะซึ่งจะเข้าหลักม.๖๘๑
ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล เช่น พิการ ไร้ความสามารถ อย่างเดียวหรอค่ะ????
ตอบลบ#อยากรู้จริงๆค่ะขอบพระคุณมากๆค่ะ