วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ม.๖๘๐



          มาตรา ๖๘๐  อันว่าค้ำประกันนั้น คือ[1]สัญญาซึ่ง[2]บุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน [3]ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
          อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มี[4]หลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่


[1] สัญญาค้ำประกันเป็นตราสารที่ต้องติดอากรแสตมป์
[2] บุคคลภายนอก เป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ตัวลูกหนี้เอง
[3] ผู้ค้ำประกันต้องผูกพันตนกับเจ้าหนี้เท่านั้น ถ้ามิได้ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้แต่ไปผูกพันกับบุคคลอื่น ก็เป็นเพียงสัญญาธรรมดาไม่บังคับตามสัญญาค้ำประกัน เช่น ก.ให้ข.เป็นผู้ค้ำประกัน นายเอ ต่อเจ้าหนี้ในการส่งข้าวไปขาย โดยตกลงว่าหากเกิดความเสียหายในการค้ำประกันจะยอมรับผิด ก.ไม่ได้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้แต่ค้ำประกันกับผู้ค้ำ จึงเป็นเพียงสัญญาธรรมดาไม่เอาหลักสัญญาค้ำประกันไปใช้ , ผู้ค้ำประกันสามารถเข้าผูกพันทำสัญญาค้ำประกันโดยตรงกับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องอาศัยความรู้เห็นยินยอมของลูกหนี้
[4] หลักฐานเป็นหนังสือ หมายความว่า ในหนังสือนั้นอ่านแล้วต้องมีข้อความแสดงให้เข้าใจว่า เป็นการค้ำประกันและมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันและมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญ  หนังสือที่แสดงข้อความดังกล่าว จะเป็นเอกสารจดหมายหรือหนังสืออะไรก็ได้  จะมีอยู่ฉบับเดียวหรือหลายฉบับก็ไม่เป็นปัญหา สำคัญอยู่ที่ว่า เมื่ออ่านรวมกันแล้ว ต้องเข้าใจได้ว่า มีการค้ำประกันจริงและมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ  ทั้งหลักฐานเป็นหนังสือนี้ก็ไม่ต้องมีอยู่แล้วในขณะทำสัญญา อาจทำขึ้นภายหลังก็ได้ และไม่จำต้องมีข้อความที่ผู้ค้ำประกันสัญญากับเจ้าหนี้โดยตรง  และเจ้าหนี้ก็ไม่จำต้องลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันด้วยไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น